Chulatopia

Chulatopiaหรือจุฬาฯที่เราฝันอยากให้เป็นโดยยึดถือตามหลักนิเวศวิถีนั้นหมายถึงการดำรงชีวิตหรือการใช้ชีวิตประจำวันโดยอาศัยหลักการพึ่งพาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการดำนงชีวิตในปัจจุบันซึ่ง Chulatopia ที่ข้าพเจ้าอยากให้เป็นคือสังคมของมหาวิทยาลัยที่มีการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างเอื้อเฟื้อต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อาศัยในรอบๆรั้วมหาวิทยาลัย โดยเริ่มจากการที่ทุกคนต้องเข้าใจในความหมายของสรรพสิ่งต่างๆ เข้าใจในการใช้ชีวิตของผู้คน การดำเนินชีวิตของสิ่งรอบตัวและเราควรพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ โดยที่ส่งผลเสียหรือผลกระทบต่อธรรมชาติให้น้อยที่สุดโดยที่ในการเลือกใช้ธรรมชาติต้องคำนึงถึงผลกระทบและการคุ้มได้คุ้มเสียก่อนที่จะเริ่มใช้ในระบบใหญ่ๆ เราควรเริ่มจากจุดเล็กๆนั่นคือตัวเราเองก่อน หลังจากนั้นถึงจะเริ่มปรับใช้อย่างเต็มรูปแบบและเผยแพร่ให้คนรอบข้างโดยให้ยึดถือหลักการใช้ชีวิตที่เอื้อต่อธรรมชาติมากกว่าเอื้อต่อตัวเองหรือได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายจะดีที่สุด นอกจากนี้สังคมจุฬาฯ ที่ฝันอยากให้เป็นจริงคือสังคมที่คนทุกคนนึกถึงสิ่งแวดล้อมและอยาคตในอุดมคติ ตัวอย่างโครงการที่อยากให้มีการจัดตั้งขึ้นหรือจัดตั้งขึ้นแล้วในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับ Chulatopia ก็คือโครงการ Zero Waste ที่มีการลดใช้ถุงพลาสติกภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีและได้ลดการใช้ปริมาณพลาสติกในรั้วมหาลัยเป็นจำนวนมาก และถ้าเปรียบเทียบกับหลักของ Ecotopia ก็คือการลดใช้อุตสาหกรรม เพื่อช่วยการลดมลพิษ มลภาวะสู่สังคมและธรรมชาตินั่นเอง นอกจากนี้ยังมีโครงการ CU Bike ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยการลดมลภาวะสู่สังคมโดยการใช้จักรยาน นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังส่งผลดีต่อร่างกายของเราเนื่องจากได้รับมลภาวะทางอากาศที่น้อยลง นอกจากนี้โครงการที่อยากให้จุฬาฯจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักนิเวศวิถีคือ โครงการที่เกี่ยวกับการปลุกผักสวนครัว และการทำเศรษฐกิจพอเพียงภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาลัยของเรา นิสิตของเรามีภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตที่เพิ่มขึ้น และโครงการที่ทำร่วมกันคือการปลูกต้นไม้เพื่อตอบแทนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเราและคนในสังคมต่อไป


นางสาวมัลลิกา มังคลาด

5832734423 คณะวิทยาศาสตร์



สำหรับ Chulatopia คือการนำ ecotopia มารวมกับคำว่า Chula ซึ่งนั่นก็คือการนำนิเวศรัฐมาปรับใช้ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเรา  โดยการที่เรานำเอานิเวศรัฐมาใช้นั้นถือเป็นสิ่งที่ดี เป็นการตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติที่มีอยู่และอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเป็นการใส่ใจและรักษาธรรมชาติได้มากขึ้น และยังรวมไปถึงชีวิตสังคมด้วยการที่นำลักษณะแบบนิเวศรัฐมาใช้นั้นก็เหมือนกับการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้มีคุณค่าและมาพัฒนาธรรมชาติภายในจุฬาฯ โดยในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีการนำนโยบายเกี่ยวที่เกี่ยวกับการรักษาธรรมชาติมาใช้บ้าง เช่น รถป๊อป ที่เป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง แก๊ส หรือ น้ำมันซึ่งก็ถือเป็นการใช้พลังงานทางเลือกที่ดีเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและเป็นการไม่สร้างมลพิษ และก็ยังมีชมรมที่มีการรณรงค์กันอยู่ในเรื่องพวกนี้ เช่น  CU Zero Waste ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยได้ส่วนหนึ่ง และถ้าจะใช้นิเวศรัฐมาปรับใช้ ข้าพเจ้าคิดว่าอาจจะให้มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในจุฬาฯให้มากขึ้น ซึ่งพื้นที่สีเขียวพวกนั้นจะต้องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ด้วย เช่นการปลูกพืช ผัก ผลไม้ที่สามารถบริโภคได้แต่อาจจะไม่สามรถทำได้ในพื้นที่กว้างๆใหญ่ๆได้เพราะยังต้องมีพื้นที่ตึกเรียนห้องเรียนไว้สำหรับศึกษาอยู่ แต่คิดว่าถ้าสามารถมีพื้นที่เล็กๆแบบที่กล่าวไปและมีในหลายๆบริเวณก็คงจะดีไม่น้อย

นางสาวรัชนีกร เทพกุญชร
5832735023 คณะวิทยาศาสตร์

Chulatopia คือจุฬาในอุดมคติ หากถามถึงจุฬาในอุดมคติของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าก็คงอยากให้จุฬาเป็นสถานศึกษาที่ป็นแนวหน้าทางการศึกษาและเป็นผู้นำในการเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมสีเขียวเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สังคมตระหนักถึงปัญหาต่างๆของโลกเราในปัจจุบัน ให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากขึ้น


เพราะการเรียนมหาลัยนั้นนอกจากการสอนวิชาความรู้ การปลูกฝั่งจิตสำนึกต่อโลกและส่วนร่วมก็เป็นสิ่งที่สำคัญโดยให้นิสิตได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความสุขสมบูรณ์ของโลก อาจจะเป็นเรื่องของการจัดการระบบพลังงานอย่างประหยัด

ดังนั้นข้าพเจ้าอยากให้จุฬาเป็นสถานที่ที่สอนให้นิสิตมองเห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียว

เช่น ใช้พลังงานทางเลือกจากแสงอาทิตย์ มีการใช้รถที่เป็นพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการมีต้นไม้สีเขียวแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นร่มเงาให้นิสิตก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้นิสิตได้คุ้นเคยและรักธรรมชาติมากขึ้นนอกจากนี้ก็คือการมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลขยะและขวดพลาสติกต่างๆในปัจจุบันก็จะเห็นได้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองก็กำลังเริ่มที่จะพัฒนาระบบต่างๆเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเช่น โครงการ Chula Zero waste ที่สนันสนุนให้นิสิตจุฬาใช้ขวดพลาสติกแบบถาวรแทนการซื้อน้ำดื่มขวดพลาสติกในทุกๆวัน

นอกจากนี้ยังมีการลดใช้ถุงพลาสติกตามร้านค้าในบริเวณจุฬา

ร้านกาแฟต่างๆเองก็สนันสนุนให้ถูกค้านำแก้วมาเอง ที่กล่าวมาก็เป็นตัวอย่างของนโยบายต่างๆที่จุฬาเริ่มปรับใช้เพื่อเข้าสู่สังคมสีเขียวก็ถือได้ว่าจุฬากำลังเปลี่ยนวิถีเข้าสู่ Chulatopia ของข้าพเจ้าทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือตัวของนิสิตเอง การจะเปลี่ยนจุฬาให้เป็นจุฬาในอุดมคติดนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของนิสิตทุกคน

ให้ทุกคนมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม มีความเสียสละ และมีระเบียบวินัยในตนเองเพื่อให้จุฬาสามารถก้าวไปสู่การเป็นจุฬาในอุดมคติได้


นางสาวมนัญชยา จงสุตกวีวงศ์
5832733823 คณะวิทยาศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เป็น


สถานที่ที่แวดล้อมไปด้วยตึกสูงใหญ่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งการจราจรรอบๆมหาวิทยาลัยค่อนข้างหนาแน่น ซึ่งส่งผลให้มีมลภาวะทางอากาศเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องของ Chulatopia  หรือจุฬาลงกรณ์ที่ฝันอยาก

ให้เป็น ในแง่ของนิเวศวิถีคือการทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติ เนื่องจาก

บริเวณรอบๆมหาวิทยาลัยมีมลภาวะค่อนข้างมาก บริเวณภายในมหาวิทยาลัยจึงควรเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิด

อากาศบริสุทธิ์ และมีมลภาวะทางด้านต่างๆให้น้อยที่สุด การที่นำธรรมชาติเข้ามาปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของ

มหาวิทยาลัย ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มลภาวะลดลงด้วย เช่น การเพิ่มบริเวณพื้นที่สีเขียวในจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย รณรงค์ให้ลดการใช้รถยนต์ภายในมหาวิทยาลัย โดยหันมาใช้การเดินหรือใช้จักรยานแทน เป็นต้น ในแง่ของนิเวศวิถีอีกด้านหนึ่งที่สำคัญและอยากให้เป็นคือ เรื่องเกี่ยวกับอาหาร อาหารหลายๆชนิด

ในมหาวิทยาลัยทุกวันนี้ ไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการแก่ผู้บริโภคเท่าที่ควร ดังนั้นหากมีการปรับปรุงหรือ

เปลี่ยนแปลงให้อาหารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นอาหารในแง่ของนิเวศวิถีมากขึ้น อย่างเช่น



การเพิ่มจำนวนร้านอาหารคลีน มีการส่งเสริมให้ร้านค้า ร้านอาหาร มีอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผัก


มากขึ้น ซึ่งอาหารที่ทำจากผัก เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทำให้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่าง


มาก แต่อย่างไรก็ตาม  วิธีทั้งหลายที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ เป็นเพียงวิธีการหรือปัจจัยภายนอกเท่านั้น การที่

จะทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปในแนวทางที่เป็นนิเวศวิถีมากขึ้นอย่างระยะยาวและเกิดความยั่งยืน สิ่งที่สำคัญอย่างมากคือปัจจัยภายใน นั่นก็คือการปลูกฝังค่านิยม รณรงค์ส่งเสริม

ให้บุคลากรและนิสิตจุฬาลงกรณ์ มีความคิด รวมถึงจิตสำนึกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้

ต้องมีการส่งเสริมให้รู้จักการมีนิเวศสำนึก โดยการที่จะทำได้นั้น ต้องเริ่มมาจากการให้ข้อมูลความรู้ที่ถูก 

ต้องเกี่ยวกับนิเวศวิถี รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของนิเวศวิถีด้วย การทำเช่นนี้จะส่งผล
ให้ทุกๆคนมีแนวคิด มุมมองในแง่นิเวศวิถีมากยิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยกันพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้
เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

            จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นจริงในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Chulatopia โดยการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนขึ้นได้นั้น ต้องทำทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกควบคู่

กันไป 

นัฐพร  สุวรรณจรัส

5845562029

       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาระบบสารสนเทศและนวัตกรรม ต่างๆที่มีความทันสมัยในปัจจุบัน เป็นสถานที่เรียนรู้และให้บัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อไปรับใช้สังคมและ ประเทศชาติ ข้อความที่กล่าวข้างต้นเป็นข้อความที่คนทั่วไปรู้จักและเป็นความจริงของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในปัจจุบันแต่ในความคิดของดิฉันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฝันของดิฉันนอกจากจะมี คุณภาพทางด้านต่างๆที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ดิฉันอยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสวนเกษตรเป็น สวนเกษตรที่มีการปลูกพืชต่างๆ อาทิเช่น ข้าว ผัก มีสระน้ำที่ไว้เลี้ยงปลา มีพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ อาทิ เช่น ไก่ วัว หมู เป็นสวนเกษตรที่มีการพึ่งพากัน โดยมูลสัตว์ที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์สามารถนำมาเป็นปุ๋ย ให้แก่พืชและสามารถนำไปเป็นอาหารให้แก่ปลา ส่วนพืชต่างๆ เราสามารถนำเป็นปุ๋ยหมักได้ ใช้ ประโยชน์ด้วยการนำปุ๋ยหมักไปใส่ให้สารอาหารแก่ข้าวหรือผัก ถ้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสวน เกษตรจริงๆคงจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีทั้งระบบการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ที่ครบองค์ประกอบ เรายัง สามารถวิจัยพันธุ์พืชที่เราปลูกในมหาวิทยาลัยของเราและดัดแปลงพันธุ์พืชให้ดีขึ้นได้ ประเทศไทยของ เราเป็นประเทศเกษตรกรรมคงจะมีผลดีถ้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย อย่างจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมีสวนเกษตรและสามารถนำความรู้ที่ได้จากสวนเกษตรเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรและ ประเทศชาติ 

นางสาวนริศรา สุภาพันธ์ 6047027540
                                                                                                                          สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยโดยตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน ใจกลางของกรุงเทพมหานคร ทำให้แวดล้อมไปด้วยตึกสูงๆ จำนวนมาก ต้นไม้ล้อมรอบน้อยกว่าที่ควร อีกทั้งติดกับถนนอังรีดูนังต์ ถนนพยาไท และถนนพระรามที่ 1 จึงมีสภาพการจราจรที่ติดขัดมากซึ่งทำให้เกิดมลพิษทางอากาศมากไปด้วย  ดังนั้น Chulatopia หรือจุฬาฯ ที่เราฝันอยากให้เป็นในแง่นิเวศวิถี จึงคือการที่เราจะแก้ปัญหาต่างๆของจุฬาฯ และพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติโดยประกอบด้วยสองส่วนคือภายนอกและภายใน
ในส่วนของภายนอกนั้น แบ่งออกเป็นสองหัวข้อ หัวข้อแรกคือมีการลดมลพิษทางอากาศและทำให้เกิดอากาศบริสุทธิ์ แนวทางการแก้ไขคือการเพิ่มต้มไม้ทั้งในและรอบมหาวิทยาลัยโดยอาจจะใช้เพิ่มสวน เพิ่มต้นไม้ตามถนน เป็นต้น อีกทางคือยกเลิกการใช้รถยนต์ในเขตมหาวิทยาลัยโดยให้นิสิต อาจารย์ และบุคคลากร หันมาใช้รถจักรยานแทน อีกทั้งควรลงทะเบียน CU BIKE อัตโนมัติแก่นิสิตทุกคนเพราะปัจจุบันการลงทะเบียนเป็นเรื่องยุ่งยากจึงทำให้นิสิตจำนวนไม่น้อยไม่ใช้จักรยานในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ควรเปลี่ยน CU POP BUS ในจุฬาฯ เป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษอีกทาง หัวข้อที่สองคือมีอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันอาหารในจุฬาฯ เป็นอาหารจำพวกแป้ง เนื้อสัตว์ติดมัน หรืออาหารที่ใช้ผงชูรสในการปรุงเช่น มาม่าผัด จึงควรมีการเพิ่มอาหารในแง่นิเวศวิถีมากขึ้น โดยการเพิ่มจำนวนร้านอาหารที่ขายอาหารคลีน หรืออาจจะรณรงค์ให้ร้านค้ามีการขายอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นผักมากขึ้นซึ่งอาจจะมีการให้พื้นที่ปลูกผักในมหาวิทยาลัยแก่พ่อค้าแม่ค้าและให้นำผักนั้นมาใช้ประกอบอาหาร ซึ่งทำให้นิสิตมีอาหารที่เพื่อสุขภาพและปลอดสารพิษเพราะปลูกเองอีกด้วย
ในส่วนของภายในนั้นคือมีการปลูกฝังค่านิยม รวมทั้งรณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรมีความคิดและจิตสำนึกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไปในแง่ของนิเวศวิถีมากขึ้นในระยะยาวเพราะนิสิตและบุคลากรจะมีมุมมองในแง่นิเวศวิถีมากขึ้นและจะช่วยกันพัฒนามหาวิยาลัยอย่างยั่งยืน โดยอาจจะส่งเสริมให้นิสิตและบุคลากรมีนิเวศสำนึกมากขึ้นซึ่งควรให้ทั้งความรู้ ที่มา ความสำคัญ และประโยชน์ของนิเวศวิถี
Chulatopia หรือจุฬาฯ ที่เราฝันอยากให้เป็นในแง่นิเวศวิถี แบ่งออกเป็นสองส่วนคือภายนอกและภายใน โดยภายนอกนั้นมีสองหัวข้อคือมีการลดมลพิษทางอากาศและทำให้เกิดอากาศบริสุทธิ์ และมีอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ส่วนภายในนั้นคือมีการปลูกฝังค่านิยมและรณรงค์ให้มีจิตสำนึกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นซึ่งการกระทำเช่นนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนาในแง่นิเวศวิถีอย่างยั่งยืน ทั้งสองส่วนนี้จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
ญาณิศา พรนิมิตร 5845530929


สำหรับข้าพเจ้า จุฬาลงกรณ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่ค่อนข้างสมบูรณ์พร้อมในแง่ของการให้วิชาความรู้ แต่สำหรับในแง่ของนิวเศวิถีแล้ว จุฬาฯ ยังต้องพัฒนาไปอีกมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงอยากเสนอ Chulatopia หรือ จุฬาลงกรณ์ที่ฝันอยากให้เป็นในแง่ของนิเวศวิถีขึ้นมา โดยแบ่งภาพรวมออกเป็น 3 ด้าน
ด้านแรก คือ ทัศนียภาพ ภายในจุฬาฯโทเปีย จะเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่และอาคารกระจกที่ทำให้ดูปลอดโปร่งและมีสถาปัตยกรรมแปลกตา ดูล้ำยุค อาคารแต่ละอาคารภายในคณะจะเชื่อมถึงกัน และพื้นที่ชั้น 1 ของแต่ละอาคารจะเป็นที่จัดแสดงผลงานของอาจารย์และนิสิตหรือนิทรรศการแปลกๆ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเกิดแรงบันดาลใจ จุฬาฯโทเปียจะมีหอสมุดและอาคารกลางหลายแห่งสำหรับให้นิสิตผ่อนคลาย ดูภาพยนตร์  ฟังเพลง คุยเล่น อภิปรายความรู้ หรือแม้แต่มีห้องให้งีบหลับ 
ด้านต่อมาที่จะพูดถึง คือ ด้านการคมนาคมภายในมหาวิทยาลัย จุฬาฯโทเปีย จะไม่มีการคมนาคมด้วยรถยนต์เติมน้ำมัน จะมีแต่เพียงยานพาหนะไฟฟ้าเท่านั้น ผู้ที่นำรถยนต์มาไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ นิสิต หรือผู้ที่มาติดต่อราชการ จะต้องนำไปจอดในโรงจอดรถขนาดใหญ่ที่กระจายอยู่หลายที่ในมหาวิทยาลัย โดยโรงจอดรถแต่ละที่จะติดกับสถานียานพาหนะไฟฟ้าที่จะให้บริการแลกพาหนะออกมาใช้และชาร์ตไฟ ยานพาหนะจะมีหลายรูปแบบ เช่นมินิบัส (ที่เคลื่อนที่ได้เร็วพอๆกับรถที่ใช้น้ำมัน และมีรอบเพียงพอกับความต้องการ) และจักรยานไฟฟ้า 3 ล้อที่สามารถขับเคลื่อนเองได้และผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องฝึกฝนการทรงตัว รวมทั้งรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนเองได้ และมีที่นั่ง 4 ที่ สำหรับกลุ่มเพื่อน
ด้านสุดท้ายคือการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ที่นี่จะไม่มีการวัดผลโดยเกรด การวัดผลจะมีแค่ผ่าน/ไม่ผ่าน โดยจะประเมินจากการประยุกต์ความรู้ในการสร้างผลงาน หรือการอภิปรายองค์ความรู้ที่ได้รับ เนื้อหาที่สอนจะเน้นการปฏิบัติจริง ไม่ใช่เพียงแต่ทฤษฎี และเน้นถึงการศึกษามุมมองใหม่จากคนทั่วไปร่วมด้วย ไม่ใช่จากนักวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อนิสิตจะได้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงและสามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนั้นในเรียนนิสิตไม่จำเป็นต้องมาเรียนกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทุกครั้ง อาจารย์จะสอนผ่านระบบโฮโลแกรมที่ถูกทำให้เหมือนคลาสเรียนจริง อาจารย์จะเห็นนิสิตทุกคน และนิสิตทุกคนก็จะสามารถยกมือถามได้เหมือนเดิม โดยที่ประหยัดเวลาการเดินทางและสะดวกต่อนิสิตที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวง
สุดท้ายนี้ จุฬาฯโทเปียในความคิดของข้าพเจ้าอาจจะยังไม่สมบูรณ์และครอบคลุมมากนัก แต่เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าคาดหวังให้เกิดขึ้นจริง และข้าพเจ้าคิดว่าบุคคลากรในจุฬาฯทุกคนมีความพร้อมที่จะทำได้

นางสาวญาณิน ต่างใจ 
จิตวิทยา ปี 4 รหัส 5737426038


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเรามีปัญหาด้านอาหาร  เนื่องจากรอบๆจุฬาฯ มีห้างสรรพสินค้าค่อนข้างเยอะมีอาหาร Fast food ขายจำนวนมาก นิสิตส่วนมากเลือกซื้อ รับประทานเนื่องจาก สะดวกและรวดเร็วอีกทั้งยังราคาถูก เมื่อเทียบกับอาหารร้านอื่นๆ ในห้างที่อาจเป็นตัวเลือกที่ดี ต่อสุขภาพมากกว่า อีกทั้งในโรงอาหารภายในคณะต่างๆ ยังมีตัวเลือกอาหารเพื่อสุขภาพค่อนข้างน้อย
อีกทั้งปัญหาด้านพลังงานที่สำคัญอีกอย่างคือเรื่องการใช้ลิฟท์ จะเห็นพบนิสิตมีการต่อ แถวรอใช้ลิฟท์จำนวนมากในช่วงเข้าเรียนและเลิกเรียน หรือเมื่อมีการเปลี่ยนคาบเรียน เป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้นิสิตเข้าเรียนสาย ซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียต่อนิสิตแล้วยังเป็นการเปลือง พลังงานอีกด้วย พบว่ามีนิสิตหลายคนที่ขึ้นหรือลงแค่ 1-2 ชั้นซึ่งด้วยวัยนิสิตเองแล้วสามารถ และควรที่จะใช้บันไดจะเป็นผลดีมากกว่า
ปัณหาที่กล่าวมาข้างต้นนั้นดิฉันพบเจอทุกวัน ซึ่งมีประเด็นที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและอยาก แก้ไข โดยส่งเสริมให้มีอาหารเพื่อสุขภาพขายในโรงอาหารมากขึ้น และราคาสมเหตุสมผล ร้านอาหารมีตัวเลือกเพื่อสุขภาพมาขึ้น เช่นร้านขายราดแกงมีขายกล้องให้เลือก มีไขต้ม แทนไข่ดาวและมีเมนูผัดผักมากขึ้น อีกทั้งอยากให้มีการรณรงค์เรื่องการใช้ลิฟท์ให้ นิสิตหัน มาเดินออกกำลังกายมากขึ้นนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของนิสิต และเป็นการลดความหนาแน่นในการต่อแถวใช้ลิฟท์อีกด้วย
ปรียานุช ลีลาพิสุทธิ์

5845571629


                ผมอยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาลัยที่ปลอดมลพิษโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มลพิษที่เกิดจากควันไอเสียรถยนต์ อยากให้ใช้รถโดยสารที่รับส่งนิสิตภายในรั้วมหาลัยเป็นรถพลังงานสะอาด ที่มารับส่งได้ตรงตามเวลาเพื่อทำให้นิสิตไปเรียนได้อย่างรวดเร็วและคำนวณเวลาในการเดินทางได้อย่างแม่นยำ อยากให้มีการเปิดสอนวิชาที่อาจจะต้องใช้ในปัจจุบันและอนาคต เป็นวิชาที่นำไปใช้ได้จริงโดยที่สอนฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีการคิดเกรด อยากให้มีชมรมเกี่ยวกับนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ยานพาหนะ, คอมพิวเตอร์, เป็นต้น ที่ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้และสร้างจริงได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ใครอยากทำอะไรต้องได้ทำ ใครอยากเป็นอะไรต้องได้เป็น และสุดท้ายคืออยากให้จุฬามีกองทุนสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการทำอะไรสักอย่างที่มีผลต่อประเทศชาติ หรือผู้ที่ต้องการไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้นวัตกรรมของบริษัทต่างๆในต่างประเทศ โดยนำกองทุนตรงนี้มาสนับสนุนสำหรับผู้ที่สนใจและอยากทำสิ่งนั้นจริงๆ
นายชัยชนะ อนุรักษ์จาตุรงค์ 
วิศวะ5930115721



จุฬาฯในฝันของฉันคือ การที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีธรรมชาติล้อมรอบซึ่งทำให้บรรยากาศภายในมหาลัยมีความร่มรื่น น่าอยู่เหมาะแก่การเรียน นอกจากนี้เนื่องจากบริเวณมหาลัยมีความกว้างขวางมาก แต่ละคณะอยู่ห่างไกลกัน ดังนั้นเพื่อการอำนวยความสะดวกให้กับนิสิต อาจารย์ และบุคคลากรภายในมหาวิทยาลัย จึงควรมีบริการรถภายในมหาวิทยาลัย โดยรถที่ใช้ต้องเป็นรถรักโลก คือ ต้องเป็นรถที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน อาจใช้เป็นรถจากพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งไม่ปล่อยมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม หากล่าวถึงเรื่องอาหารภายในมหาวิทยาลัย เริ่มจากสภาพแวดล้อมของโรงอาหารแต่ละที่ภายในมหาวิทยาลัย ต้องมีความสะอาดปราศจากสารเคมีและสารเจื้อปน บริเวณโดยรอบมีอากาศที่ถ่ายเท นอกจากนี้ร้านอาหารที่ขายภายในโรงอาหารจะต้องผ่านการตรวจสอบจากกรมอนามัยและอาหารจะต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งมีการขายอาหารคลีนด้วย ภายในมหาวิทยาลัยควรจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกายให้กับนิสิต อาจารย์ และบุคคลากรภายในมหาวิทยาลัย และสนับสนุนให้มีการออกกำลังกายทุกเย็นเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของทุกคนและใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์ เป็นต้น

นางสาวยลรดี จงเร่งพียร
574 44231 27 คณะครุศาสตร์

ความคิดเห็น